วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง 4

ปล่อยแสง4 Supermarket of Ideas
เป็นอีกครั้งที่ได้ร่วมงานกับกลุ่ม Happiness Imagination
ในครั้งนี้ พวกเราทำผลงาน Sound Installation โดยใช้การทำเพลงประกอบภาพเป็นสื่อกลาง
ชื่อผลงานว่า POINT of VIEW ฟ้าเดียวกันในมุมมองที่แตกต่า



ผลงาน ชิ้นนี้เกิดจากความหลงใหลกรุงเทพฯในยามค่ำคืน และความหลงใหลในเสียงดนตรี ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ในการทำเพลงประกอบ ซึ่งใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการให้อารมณ์และความรู้สึก

"แม้เพียงภาพอาจสร้างอารมณ์ได้ไม่เท่ากับการได้ฟังเสียงดนตรีเคล้าคลอไปกับจินตนาการ"

แสดงออกถึงมุมมองของกรุงเทพมหานคร ในยามค่ำคืน

POINT of VIEW ฟ้าเดียวกัน ในมุมที่แตกต่าง









วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง 3 ณ รถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ

เป็นอีกครั้ง ที่ได้นำงาน มุมสะท้อนที่โปร่งแสง มาจัดวางใหม่ ในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น สำหรับงานปล่อยแสงครั้งที่3นี้โดยเฉพาะ และเป็นอีกหนึ่งการร่วมงานกับเพื่อนๆกลุ่ม HAPPINESS IMAGINATION




เสียงทั้งหมดที่ได้ยินในงานนี้ เป็นเสียงที่ได้อัดจากงานวัด และนำมาตัดต่อ เสียงให้เข้ากับแนวคิดที่วางไว้

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

SOUND INSTALLATION

"La fête du Temp"
งานLa fete du Temp เป็นงานจัดวางทางเสียงที่ต้องการนำเสนอมุมมองหนึ่งของค่านิยมในสังคมผ่านรูปแบบของงานวัด ซึ่งประกอบไปด้ายการละเล่นต่างๆ การออกร้าน การฟังเทศน์ฟังธรรม การแสดงต่างๆที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของค่านิยมตะวันตก และที่ขาดมิได้คือ กิจกรรมการบริจาค ในงานชิ้นนี้ได้ใช้ตู้บริจาคเป็นสื่อนำเสียงที่ผู้เข้าชมสามารถที่จะ "ทำบุญเสียง" ได้ด้วยตนเอง
องค์ประกอบของLa fete du Temp ล้วนแล้วแต่สะท้อนให้เห็นถึงค่าินิยมที่กำลังเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ค่อยๆสร้างความเสื่อมโทรมให้กับความบริสุทธิ์ของเชื่อ และความสวยงามที่เคยมีในวัฒนธรรมไทย การส้รางสรรคืผลงานชิ้นนี้นั้นเพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้เข้าชมงานได้ตระหนักและเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมไทยใน ปัจจุบัน


My thesis project working with the lecturer from the faculty of Architecture and the faculty of Fine Arts in the exhibition ‘People, Music and Life’ at the Sirindhorn Anthropology center, Bangkok, I have involved as the sound artist working on the project called “La fête du Temple” ( Temple Fair). I recorded sound from many temples and install it in the exhibition. All that sounds related to a way of life of Thai people who their life closed to temple but today it almost changed. Modernization is the most important factor that made things changed so in my thesis you will see the different side of modernity and old tradition of a way of life through the temple festival. I used monk's alms-bowl to interact with audience by hide censor inside and when audience drop money censor will send a signal though the micro controller and send a message to Max/Msp to release sound.




คำอาจารย์ศิลป์
คำอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ล้วนแล้วแต่เป็นคำที่นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเคารพและบูชา ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและสามารถนำไปใช้ได้กับชีวิตจริง อีกทั้งยังเป็นคำที่ไพเราะสวยงาม ในงานนี้นอกจากนำคำอาจารย์ศิลป์มาสร้างเป็นผลงานแล้ว ยังนำเพลงประจำมหาวิทยาลัยคือเพลง Santa Lucia มาเรียบเรียงใหม่ และแต่งเพลงขึ้นใหม่โดยใช้คำอาจารย์ศิลป์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ และให้ผู้เข้าชมงานได้ซึมซาบความรู้สึกและความสวยงามในความหมายของคำอาจารย์ศิลป์ "ศิลปะืยืนยาว ชีวิตสั้น" {Ars Longa Vita Brevis}


Designer : โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์ (คณะมัณฑนศิลป์)
Sound Collaborator : ศิรษา บุญมา (คระดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปล่อยเสง 3 @ TCDC



เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ
เพราะเด็กในวันนี้ จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า ดังนั้นหากพลังทางความคิดสร้างสรรค์อันไร้ขีดจำกัดของพวกเขาได้รับการสนับ สนุนให้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างเต็มที่ อนาคตที่เด็กฉลาดเหล่านี้จะก้าวขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ชาติย่อมไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ขอทำหน้าที่ผู้ใหญ่ใจดี เปิดเวทีสร้างสรรค์ มอบโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ค้นพบหนทางสู่การเป็นผู้ใหญ่มืออาชีพใน เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ กิจกรรมเด่นภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” ที่จะช่วยให้นิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศได้พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบ การรุ่นใหม่ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้จากมันสมองและสองมือ พร้อมเปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจได้รู้จักกับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ไฟแรงจาก ทุกสาขาวิชา เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ธุรกิจที่แข็งแกร่งพร้อมขับเคลื่อนสังคมให้เจริญก้าว หน้าต่อไป



ได้มีโอกาสดีๆ ไปจัดวางงาน sound installation โดยร่วมงานกันกับเพื่อนๆ HAPPINESS IMAGINATION โดยในงานนี้ ได้นำ 4 ผลงานมาจัดวาง โดยที่1ในนั้นเป็นการนำแนวคิดของงาน "La fête du Temp" มาแตกยอด และเปลี่ยนวิธีการจัดวางใหม่ ออกมาเป็นงาน "มุมสะท้อนที่โปร่งแสง" มาแตกยอด และเปลี่ยนวิธีการจัดวางใหม่ ออกมาเป็นงาน "มุมสะท้อนที่โปร่งแสง" โดยแนวคิดของงานนี้คือ ได้รับแรงบันดาลใจจากงานวัด ที่แปรเแลี่ยนไปในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของแนวความคิดแบบวัตถุนิยมที่กำลังส่งผลกระทบต่อ สังคมไทย ผ่านขวดกลาลเวลา (Time Capsule) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของเสียงในสังคม และเชื้อชวนให้ฟังกระดกขวดเข้าหู แล้วเงี่ยฟังความเป็นจริง




ส่วนอีก 3 งานนั้น มีแนวคิดดังนี้
1. (กรอบ)ธรรมชาติ
เสียงมีผลต่อความรุ้สึก
เช่นเดียวกับสี ศิลปินจึงสร้างสรรค์ ผลงานโดยได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตคนเมืองที่ถูกตีกรอบ ไว้ด้วยความเจริญ ความสะดวกสบาย ธรรมชาติจึงค่อยๆเลือนหายไปจากความเป็นเมือง ศิลปินสร้าง(กรอบ)ธรรมชาติขึ้นมาเพื่อ ให้ผู้เข้าชมได้ร่วมจินตนาการและรับรู้ถึงความแตกต่างของความสวยงามและสภาพ แวดล้อมของสังคมปัจจุบัน



2.
เก้าอี้ขาวในห้องแดง
แรง บันดาลใจจากนิยายของสุวรรณี สุคนธา ที่กล่าวถึงนางเอกผู้มีอาชีพมัฑนากร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ด้วยหน้าที่ของอาชีพมัณฑนากรนั้นจะเป้นผู้ออกแบบแต่ละห้องให้เป็นไปตามความ ต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งการออกแบบแต่ละห้องนั้นจะส
อดคล้องกับเอกลักษณ์ ของเจ้าของบ้าน ณ ประเด็นนี้เอง ที่ผลงานเก้าอี้ขาวในห้องแดงได้ทดลอง สร้าง ห้อง3ห้อง ในมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นพื้นที่สะท้อนนัยยะที่แตกต่าง ทางกายภาพ สภาวะ และเวลา อันเกิดจากการรับรู้ที่เปลี่ยนไปของผู้คนกับเสียงและพื้นที่ ที่ต่างกัน


3. ท้องพระโรง
เพราะ ปัจจุบัน คืออดีตของอนาคต ศิลปิน ต้องการที่จะเชื่อม โยงเรื่องราวของอดีตกับปัจจุบันที่เกิดขึ้นในห้องทรงงาน ณ ท้องพระโรง ตำหนักพรรณรายเรื่องราวในอดีตนั้นคือเหตุผลของปัจจุบัน และความเป็นไปในอนาคต ผลงานชิ้นนี้ได้สร้างบทสนทนาระหว่าง ภาพกับเสียง ที่เกิดขึ้นผ่านโบราณสถานที่มีประวัิิติศาสตร์และเรื่องเล่าต่างๆทั้งในแง่ ของความลี้ ลับ ความเชื่อ ตลอดจนวิถีของแต่ละบุคคลที่อาศัยอยุ่ในรั้ววังเพื่อให้ผู้คนในสมัยปัจจุบัน ได้รู้สึกและรับรู้ถึงวิถึชีวิตและจำลองบรรยากาศที่เิกิดขึ้นในอดีต





ที่น่าสนุกที่สุด สำหรับงานนี้คือ ทุกงาน เป็นงาน interactive ทั้งหมด ซึ่งผู้เข้าชม สามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่ง กับงานของพวกเราได้


ผลงานอันเสร็จสมบูรณ์ และผองเพื่อน ผู้ร่วมงาน